หลักสูตรสรรค์สนทนา
ชุดเครื่องมือสร้างสรรค์บทสนทนาเชิงวิพากษ์
วันที่ 8 -12 มกราคม 2025

ณ มะขามป้อมอาร์ตสเปซ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ค่าลงทะเบียน 18,000 บาท

โปรแกรมสุดพิเศษจากวิทยากรมากประสบการณ์ ผู้ก่อตั้ง Free Theatre (Australia) สองสมาชิกคนสำคัญของกลุ่มละครมะขามป้อม ผู้พัฒนา “Dialogue Theatre ละครถกแถลง” และเครื่องมือการเรียนรู้อย่างสันติด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ มีประสบการณ์ยาวนานในฐานะนักการละคร วิทยากรการจัดการความขัดแย้ง ทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายอันหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งเยาวชน ศิลปิน นักกิจกรรมทางสังคม ชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัย  จากหลากหลายประเทศ (โปรแกรมนี้จัดกิจกรรมเป็นภาษาไทยและอังกฤษ)

การพูดคุยกลายเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆในโลกแบ่งขั้ว เราจะประคับประคองวงคุยได้อย่างไร และเรายังสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนหรือสังคมได้อีกหรือไม่ ?

“สรรค์สนทนา” อบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 5 วัน  เพื่อทำความรู้จักชุดเครื่องมือชวนคิดชวนคุย ผ่านกระบวนการละคร เกม กิจกรรมสร้างสรรค์  กรณีศึกษา รวมถึงใช้ภูมิทัศน์ของศูนย์ศิลปะมะขามป้อมเพื่อเติมพลังสร้างแรงบันดาลใจ

สังเขปเนื้อหา

  1. ฉัน :: Put yourself in the picture
    เริ่มต้นที่ตัวเอง…..คำกล่าวเตือนใจเมื่ออยู่ในเส้นทางสร้างการเปลี่ยนแปลง ‘ ฉัน ’  คือกิจกรรม  แผนที่ชีวิต (personal mapping ) ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวเส้นทางชีวิต ผ่านสัญลักษณ์วัสดุอุปกรณ์และการจัดวางบนพื้นที่ของศูนย์ศิลปะมะขามป้อม
  2. ช้างใหญ่ในห้อง :: Elephant in the room
    คำเปรียบเทียบ ช่วยการคุยได้อย่างไร? ชวนคุยถึงคำอุปมา “ช้างใหญ่ในห้อง” เพื่อเผยความขัดแย้งผ่านเลนส์ของความห่วงกังวล( issues of concern) ความสนใจและความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลง (issues of interest)
  3. กลืนไม่เข้าคายไม่ออก :: The Dilemma of the Other
    ความขัดแย้งมักถูกนิยามโดยคู่ตรงข้าม ขยายจากเส้นตรงขั้วตรงข้าม (linear polarisation) เป็นสามเหลี่ยม (triangulation) จะเห็นผู้เล่นตรงกลางในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกพร้อมผู้เล่นในมุมอื่นๆ
  4. เวทีใจ :: The Empitheatre
    เวทีของการชวนคิดชวนคุย ระหว่างผู้ชมและตัวละคร  ค้นหาจุดยืน ยืนยัน เคลื่อนย้าย บนฐานความเห็นอกเห็นใจ(empathy) การพูดความจริง (truth-telling)  และการปรับเปลี่ยน (change)
  5. โมเดลปอกหอม (Peeling back the onion rings )
    ความเปลี่ยนแปลงหน้าตาเป็นอย่างไร? มาช่วยกันปอกเปลือกชั้นต่างๆของโครงสร้าง ผ่านโมเดล  ‘ปอกหอม’ (Onion Ring model ) โดยใช้มิติของพื้นที่เพื่อสำรวจภาพรวม