โรงเรียนไท


ห้องเรียนข้ามขอบเพื่ออิสรภาพทางปัญญาของเยาวชนไทย

หลักสูตรนักสร้างสรรค์  (Young Creators)  “การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง”

*สามารถเรียนเพื่อสะสมคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ในหลักสูตร”ห้องเรียนข้ามขอบ” แห่งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำหรับเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
หลักสูตรละ 60 ชั่วโมง ระยะเวลา 7 วัน 
ค่าลงทะเบียน 15,000 บาท ราคานี้รวม ค่าที่พัก 6 คืน อาหาร 19 มื้อ อาหารว่าง 12 มื้อ การเดินทาง ไป – กลับ เชียงใหม่ – เชียงดาว การเดินทางในพื้นที่ (แช่น้ำร้อน / ปั่นจักรยานชุมชน / ตลาดเช้า)

ลิงค์สมัครโปรแกรม : https://forms.gle/KWu3Guz8o9LwYrPy5

ติดต่อสอบถาม:
คุณหมิว (ผู้ประสานงานหลักสูตร)
โทรศัพท์: 095-482-8815
facebook : Kamon Miw
email : miwkamonn@gmail.com

หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ของฟินแลนด์ เน้นย้ำความสำคัญของทักษะทางวัฒนธรรมและการนำเสนองาน “ละครเพื่อการศึกษา” (Drama in Education) เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของหลักสูตรนี้ ที่เป็นทั้งวิชาศิลปะแขนงหนึ่งและวิธีการสอน พวกเขาใช้องค์ประกอบต่างๆของละครเวทีเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาสำหรับนักเรียนทุกระดับอายุในวิชาละครเพื่อการศึกษา นักเรียนทั้งหมดจะทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันตามวิธีแบบการละครเพื่อการศึกษาเพื่อสร้างผลงานเรี่องสั้นๆ ที่มีทั้งนักเรียนและคุณครู ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์นี้ เด็กๆจะได้รับประสบการณ์ที่เข้มข้น และมีการเน้นย้ำบทบาทเชิงรุกในการเรียนรู้กับพวกเขา ปฏิสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญในละครเพื่อการศึกษา ซึ่งเปลี่ยนให้การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ละครเพื่อการศึกษาช่วยส่งเสริมจินตนาการและแรงจูงใจภายใน แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบรรยากาศที่ปลอดภัย เปิดกว้างและเป็นอิสระ นอกจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และให้เด็กเป็นศูนย์กลางก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน องค์กระกอบทั้งหมดทั้งมวลนี้ช่วยให้เกิดพื้นที่สำหรับกิจกรรมกลุ่มได้ เราอาจมองละครเพื่อการศึกษาทั้งในมุมของความคิดสร้างสรรค์ส่วนบุคคล และความคิดสร้างสรรค์ระดับกลุ่มของนักเรียนทั้งห้อง ละครเพื่อการศึกษายังมีศักยภาพที่จะฟูมฟักความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เพราะมีทั้งการใช้ประสบการณ์ การเข้าสังคม และการกระตุ้นประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้

จากหนังสือ นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งอนาคตแบบฟินแลนด์ (Phenomenal Based  Learning from Finland)

หลักสูตรนักสร้างสรรค์ (Young Creators) ออกแบบขึ้นเพื่อมุ่งสร้างนักสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเรียนรู้ผ่านศิลปะและสื่อหลากหลายสาขา พัฒนาสุนทรียภาพผ่านกระบวนการเรียนรู้สุดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างรอบด้าน ทั้งด้านศิลปการละคร (Drama ) การเขียน(Writing)  การถ่ายภาพ (Photo)  การผลิตวิดีโอ (VDO) ที่มุ่งสร้างนักสร้างสรรค์รุ่นเยาว์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไปได้อย่างไม่รู้จบ เป็นการเรียนรู้อย่างบูรณาการด้วยการเรียนรู้ผ่านโครงการ (Project Based Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้อันหลากหลายทั้ง การกำกับตัวเอง ความคิดสร้างสรรค์  ความคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างสำนึกพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ( Creative Critism  Communication  Collaboration   Citizenship )โดยทีมวิทยากรมากความสามารถอันหลากหลายที่มีประสบการณ์การทำงานสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง

สังเขปเนื้อหา

  1. หันกลับไปด้านใน ทำความรู้จักตัวเอง เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด  (Self  Knowing)
  2. เทคนิคการเรียนรู้ในชุมชน จากชนบทไทยสู่หมู่บ้านโลก สำรวจหมู่บ้าน มองให้เห็นความหลากหลายอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง( Rural Community to Global Village )
  3. ฝึกฝนทักษะการสื่อสารสุดสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ ด้วยเทคนิคละคร (Drama) รู้จักร่างกาย ฝึกการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ สมาธิ จินตนาการและความเชื่อ การพัฒนาบทละคร การฝึกซ้อม การฝึกซ้อม ปฏิบัติการสื่อสารด้วยการแสดง
  4. ฝึกเทคนิคถ่ายภาพ (Photo) และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Writing) เทคนิคการถ่ายภาพให้น่าสนใจ (Photo Elements)  ภาพวิพากษ์ (Critical Photo) การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสารประเด็นเฉพาะ  เทคนิคการเขียนจากจุดกลายเป็นเส้นเรื่อง (Plot to Story)
  5. การผลิตคลิปวีดีโอเพื่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (Creative VDO) 
  6. การจัดนิทรรศการสื่อสารสาธารณะ (Community Exibition)
  7. การสรุปบทเรียน”การเรียนรู้จากกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์”
Message us