โครงการละคร
ปี 2021

เพื่อเป็นพื้นที่ในการนำเสนอแนวคิดการทำงาน องค์ความรู้ของเครือข่ายคนทำงานเปลี่ยนแปลงสังคมศิลปิน องค์กรสื่อ นักวิชาการ  ผ่านแบบกิจกรรมการแสดงละครสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ รวมไปถึงเป็นพื้นที่ค้นคว้า ศึกษา และนำเสนอแนวทางการแสดงรูปแบบใหม่ๆเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม

กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ประกอบด้วย

  • การแสดงละคร (Theatre)
  • โปรแกรมการเรียนรู้การละคร (Workshop)
  • พื้นที่ศิลปะสาธารณะ (Festival)
  • องค์ความรู้ทางการละครรูปแบบใหม่ (Gender movement theater)

ละคร under construction 

กลุ่มละครมะขามป้อม ร่วมกับ ผู้กำากับภาพยนตร์ชาวพม่า Thet Oo Maung จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนศิลปะเพื่อสร้างสันติภาพ (การแสดงและภาพยนต์) เพื่อนำเสนอประเด็นชาติพันธ์มุสลิมโรฮิงญา เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบจากความขัดแย้งและความ รุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นอ่อนไหวในสังคมพม่าและชุมชนประเทศอาเซียน โครงการฯ มีเป้าหมายในการนำเสนอเครื่องมือศิลปะ ในการสร้ างความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกดขี่และค้นหากระบวนการทางวัฒนธรรมในการสานต่อเจตนารมณ์ในการสร้างสันติร่วมกัน โดย โครงการนี้ได้รับการสนันสนุนจากองค์กรศิลปะและวัฒนธรรมระหว่าง ประเทศ Mekong Cultural Hub 

ละคร รักเอยรัก  

กลุ่มละครมะขามป้อมตั้งใจนำเสนอ ความสัมพันธ์ของ 2 คู่รัก แม้จะมีความแตกต่างทางชนชั้นราวฟ้ากับดิน แต่ความรักของทั้งสองคู่มีความเกี่ยวโยงกับการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ทั้งทางตรงและทางอ้อม การแสดงที่ต้องการนำเสนอผลกระทบทางอารมณ์ จิตใจ ความ รักและศรัทธา ที่หยั่งรากลึกในโครงสร้างสังคมไทยมาหลายทศวรรษ การแสดงรักเอยรัก เป็นการแสดงรูปแบบ musical and symbolic movement theater โดยจะจัดแสดงในช่วงกลางปี 2564

Metamorphosis: The story of Trans (2021)

สร้างสรรค์ผลงานโดย ธนุพล ยินดี โดยได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตจริงของ คุณพอลลีน งามพริ้ง (ผู้หญิงข้ามเพศ ผู้ก่อตั้ง/อดีตประธานชมรมฟุตบอลเชียร์ไทยพาวเวอร์ ในนามคุณพินิจ งามพริ้ง และ ปัจจุบันเป็นนักการเมือง / นักกิจกรรม ขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศ) ต้องการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าความหลากหลายทางเพศที่ทุกคนควรได้รับศักดิ์ศรีในการเป็นมนุษย์ที่ถูกปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

รวมทั้งนำเสนอความรักที่หลาย หลายในสังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ หรือ แม้แต่การหลงรักอีกตัวตนหนึ่งในตัวของเราเอง การแสดงใช้รูปแบบการแสดงบูโต (ระบำแห่งความมืด) ที่ลงลึกถึงเพื่อค้นหาหลักการแก่นปรัชญาชีวิตมนุษย์ผ่านการเคลื่อนไหวที่ประหลาดและน่าสนใจ การแสดงนี้จะได้จัดทัวร์ในพื้นที่มหาวิทยาลัย ต่างๆ เพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้ผ่านกิจกรรม workshop กระบวนการละครให้กับนักเรียน นักศึกษา ในประเด็นเพศศึกษากับโลกสมัยใหม่และเป็นการวิจัยเพื่อค้นหาศาสตร์การแสดงรูปแบบใหม่

Gender movement theater

เทศกาลการแสดงเชียงใหม่ Chiangmai Performs พื้นที่เรียนรู้ และนำเสนอผลงานศิลปะการแสดงรูปแบบต่างๆ (ละครพูด ละครร้อง ละครเต้นเคลื่อนไหว ละครหุ่น ละครชุมชน การ แสดงสด ฯลฯ) จากเครือข่ายนักการละคร นักแสดง ศิลปินทั่วเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสร้างโมเดลของการทางานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในเชียงใหม่ และยังต่อยอดแนวคิดการสร้าง Creative economy ของการพัฒนาเมืองไปพร้อมๆกัน เทศกาลChiangmai performs จัดขึ้นโดยการร่วมกลุ่มของบรรดานักการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมรุ่นใหม่ ( art manager) ในนาม BLACK SHIRT ที่ต้องการสร้างระบบนิเวศสื่อการ แสดงสร้ างสรรค์ให้มีความยั่งยืนและเชื่องโยงกับการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนเชียงใหม่ในทุกมิติอีกด้วย

Message us