ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ข้อความหลายบรรทัดสร้างความสั่นสะเทือนอยู่ข้างใน คล้ายๆกับมีกุญแจไขความสงสัยในใจเรามายาวนาน แม้จะมีบางคำถามที่ต้องคิดต่อ แม้ว่าหลายๆบทหลายตอนของหนังสือที่เราอาจจะยังขบไม่แตก แต่ใจความสำคัญของหนังสือที่ให้เราหันกลับมาสำรวจตัวเอง ซื่อตรงต่ออัตตลักษณ์ของเรา ยอมรับความเป็นมนุษย์ที่มีข้อดีข้อด้อยด้วยกันทุกๆคน กล้าที่จะสบตากับความกลัว ความล้มเหลว พ่ายแพ้ และเปราะบางของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่กำลังทำหน้าที่ “ครู” ด้วยเนื้อหาของหนังสือที่ คล้ายๆกับเป็นเสียงที่หายไปของความเป็นครู โดยเฉพะอย่างยิ่งในสังคมไทย จึงเป็นที่มาที่เราอยากจัด workshop ตามแนวทางของหนังสือเล่มนี้

ก่อนหน้าจัดการอบรมหลายเดือน ทีมวิทยากรผ่านการประชุมกันหลายครั้ง ชวนกันอ่านหนังสือ ทดลองกิจกรรม ตั้งคำถาม จัดวงสนทนา เพื่อเตรียมตัวในการออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย

ก่อนหน้าจัดอบรมเล็กน้อย เราประชุมวางแผนกิจกรรมกันหลายรอบ แม้จะยังไม่เห็นแนวทางการอบรมชัดจนทะลุไปทั้งหมดเหมือนหลักสูตรอื่นๆที่เราเคยจัดซ้ำๆมาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา มันสร้างความหวั่นใจให้ทีมวิทยากรอยู่ไม่น้อย แต่ในที่สุดเราก็เชื่อมั่นในเนื้อหาของหนังสือ วางใจในทีมวิทยากร ศรัทธาต่อกระบวนการเรียนรู้ และ มั่นใจเพื่อนๆผู้เรียนที่ล้วนผ่านประสบการณ์การสอนมาอย่างโชกโชน

เมื่อวันงานมาถึง เพื่อน12 คน เดินทางมาจากหลากหลายพื้นที่ และ สนามการทำงาน ครูนิต ครูแจ๋ว ครูเปิ้ล ครูหยก กลุ่มครูเพื่อศิษย์มากประสบการณ์เดินทางมาจากจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มนี้เป็นเพื่อนเก่าเพื่อนสนิท ที่เราเจอกันมาตามเวทีการเรียนรู้ต่างๆหลายเวที ทำงานขับเคลื่อนการศึกษาในหลายโครงการ ทั้ง เพราะพันธ์ุปัญญา ซัมซุงสร้างพลังการเรียนรู็สู่อนาคต โรงเรียนนอกกะลา และอีกมากมาย

อ.หมอน้อย เพื่อนรักจากวิทยาลัยแพทย์ม.อุบล พารุ่นน้องอาจารย์ ดร.เป้ สอนด้านปรสิตวิทยา และ ดร.อุ๋ย สอนชีวะ มาเข้าสู่ชุมชนการเรียนรุ้เป็นครั้งแรก หมอต้า คุณหมอสายทางเลือก มาพร้อมกับ เท็น กระบวนกรนพลักษณ์ และจิตตปัญญา อ. จักร จากสาธารณสุข ม.นเรศวร นักวิจัยมากประสบการณ์จากภาคสนาม ที่มาพร้อมข้อมูลดีๆของชุมชน คุณแอ๊นท์ และ คุณศักดิ์ วิทยากรกระบวนการ จาก กสทช. ครูมะนาว ครูหนุ่มจากอ.พาน จ.เชียงราย และ แอดมินเพจอะไรๆก็ครู และ รุ่นน้องคณะครุศาสตร์ เมื่อได้แนะนำสถานที่ และ วัตถุประสงค์การworkshop เป็นที่เรียบร้อยจึงเป็นกิจกรรมแรกพบ และทบทวนความคาดหวังของแต่ละคนในบรรยากาศผ่อนคลาย

blog5
blog6
blog7

ภาคค่ำ เราคุยกันเรื่อง”ความฝัน” ของแต่ละคนภายในอีกห้าปีสิบปีข้างหน้า พร้อมด้วยสไลด์แนะนำงานที่แแต่ละคนที่อยู่ ซึ่งทำให้เราตื่นตะลึงกับพลังความตั้งใจ และได้รู้จักแง่มุมต่างของเพื่อนๆได้มากขึ้น

วันที่สอง สำรวจภูมิภายใน และ ความหวั่นกลัวของคนเป็นครู

เช้า เราสอนอย่างที่เราเป็น เป็นครูอย่างที่เป็นเรา ครูฝน ชวนเราเดินทางกลับไปที่ด้านใน ทบทวนเรื่องความกลัวและทางเดินชีวิตของเรา นอกจากนั้นยังชวนเราแลกเปลี่ยนถึง”ครูคนที่เราจะจำไม่รู้ลืม” ประสบการณ์การเป็นนักเรียนของทุกคนจึงถูกขุดคุ้ยขึ้นมาอีกครั้ง หลายคนกลับไปพบกับ ” นักเรียนที่ถูกลืม” หรือ “ศิษย์ที่ไม่เคยอยู่ในสายตาครู” ความรู้สึกของวันนั้น ถูกย้อนรอยกลับมาผ่านเรื่องเล่า พร้อมก้อนสะอื้นและน้ำตา

“การจดจำตัวเอง( Remembering) และพลังอำนาจของเราสามารถนำไปสู่การปฏิวัติได้ แต่ก็จำเป็นต้องมีอะไรมากกว่าการระลึกถึงข้อเท็จจริงบางประการ คำว่า Remembering นี้หมายถึงการกลับมารวมตัวกันใหม่ ฟื้นคืนอัตลักษณ์และความซื่อตรง นำความเต็มสมบูรณ์กลับมาสู่ชีวิตของเรา เมื่อเราหลงลืมว่าเราคือใคร ไม่เพียงแต่ทำให้ความรู้บางอย่างหล่นหายไป แต่เราตัดขาดจากกันด้วยความทุกข์อันเป็นผลจากการเมืองของเรา งานของเรา ใจของเรา”เมื่อครูถอดใจ “ในการอบรมเชิงปฏิบัติการของคณาจารย์ ผมมักขอให้ผู้เข้าร่วมแนะนำตัวเองด้วยการพูดถึงครูที่เคยมีผลทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลง เมื่อพวกเขาเล่าเรื่องราวเหล่านี้ ก็จะช่วยเตือนเราถึงข้อเท็จจริงหลายประการ เกี่ยวกับการสอนที่ดี นั่นคือ มันเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ และรอยประทับของครูที่ดียังตราตรึงอยู่ในตัวเรา แม้ว่าความรู้ที่พวกเขาสอนจะได้เลือนหายไปแล้ว และที่สำคัญเราต้องขอบคุณคุณครูของเราแม้ว่าจะสายไปเพียงใดก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราเป็นหนี้บุญคุณพวกเขาและส่วนหนึ่งเป็นท่วงทำนองการสอดประสานของจักรวาลกับการที่นักศึกษาของเราไม่ได้รู้คุณเราเลย” ครูผู้ปลุกให้เราตื่น

บ่าย “สถาบันการศึกษาเสนอวิถีทางมากมายนับไม่ถ้วนให้เราปกป้องตัวเองจากภัยอันอาจเกิดจากการเผชิญชีวิต นักเรียนหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอาจารย์ด้วยการซ่อนตัวอยู่หลังสมุดจดงานและความเงียบ ครูอาจารย์หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับนักเรียนด้วยการซ่อนตัวอยู่หลังแท่นบรรยาย หนังสือรับรอง และอำนาจ และเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันและกัน คณาจารย์ทั้งหลายต่างซ่อนตัวอยู่หลังความรู้เฉพาะทางของตัวเอง” กายวิภาคแห่งความกลัว ห้องเรียนแห่งความกลัว วัฒนธรรมอำนาจนิยมในห้องเรียน Dialogue สันติสนทนา การศึกษาเพื่อการปลดปล่อย ครูร่มชวนเรามา เล่นเกมฝ่ามือแห่งอำนาจ เพื่อเข้าไปทดลองมีประสบการณ์การใช้อำนาจในห้องเรียน เพื่อสำรวจสภาวะอารมณ์ ความรู้สึก เมื่อเป็นผู้ใช้อำนาจและผู้อยู่ใต้อำนาจ เราเรียนรู้อำนาจ 3 แบบ ที่มักเกิดขึ้นในห้องเรียน อำนาจ คือ หัวใจสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร ชุมชน และ สังคม การสูญเสีบอำนาจไม่เพียงเราจะสูญเสียการควบคุมชีวิตของเราเองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสูญเสียโอกาสที่จะบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มนุษย์จะพัฒนาได้ แหล่งอำนาจ แหล่งอำนาจที่มีมาแต่กำเนิด ได้แก่ เพศ ลักษณะทางกายภาพ รูปร่างหน้าตาสีผิว วิถีชีวิต สถานภาพทางสังคม ทรัพย์สิน ความคิด ความเชื่อ เป็นต้นแหล่งอำนาจที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่น ชาติตระกูล วัฒนธรรม ประเพณี สถานภาพทางสังคม ทรัพย์สินแหล่งอำนาจที่มาจากการพัฒนาหรือสร้างขึ้นเอง เช่น ตำแหน่ง หน้าที่ อาชีพ ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ประเภทของอำนาจ สตาร์ฮอร์ค นักสตรีนิยมและนักสันติวิธี ได้จำแนกอำนาจไว้ดังนี้ อำนาจเหนือ ( Power Over ) หมายถึง การที่บุคคล หรือ กลุ่มคน หรือ สถาบัน ใช้แหล่งอำนาจที่ตนเองมีอยู่ เพศ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ กฏหมาย ระเบียบ พวกพ้อง เครือญาติ หรือ ให้คุณค่าความหมายประสบการณ์แก่อีกบุคคลหนึ่ง อำนาจร่วม ( Power Sharing ) หมายถึง การที่บุคคล หรือ กลุ่มบุคคล หรือ สถาบัน ใช้แหล่งอำนาจที่ตนมีอยู่ เช้น เงินทอง ทรัพย์สิน ตำแหน่ง การงาน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล สนับสนุนการตัดสินใจร่วมกับอีกบุคคลหนึ่ง อำนาจภายใน ( Power Within ) ศักยภาพภายในบุคคล หรือ กลุ่มที่มีอยู่ หรือ หากไม่มีก็สามารถพัฒนาขึ้นได้ เรานำมาใช้เพื่อเผชิญกับความกลัว ความอยุติธรรม ตอบโต้กับสภานการณ์ด้วยสันติวิธี ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ อำนาจภายในเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเรา ไม่มีใครสามารถแย่งชิงไปได้

สถาบันการศึกษาเสนอวิถีทางมากมายนับไม่ถ้วนให้เราปกป้องตัวเองจากภัยอันอาจเกิดจากการเผชิญชีวิต นักเรียนหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอาจารย์ด้วยการซ่อนตัวอยู่หลังสมุดจดงานและความเงียบ ครูอาจารย์หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับนักเรียนด้วยการซ่อนตัวอยู่หลังแท่นบรรยาย หนังสือรับรอง และอำนาจ และเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันและกัน คณาจารย์ทั้งหลายต่างซ่อนตัวอยู่หลังความรู้เฉพาะทางของตัวเอง

วันที่สาม สมดุลธาตุ สมดุลชีวิต วิถีการเยียวยาครูและการดูแลตนเองอย่างเป็นองค์รวม หมอต้า พาเราไปสำรวจธาตุตามธรรมชาติ ที่แบ่งออกเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ และ วิญญาณ และกลับมาสำรวจสภาวะด้านใน ผ่านกิจกรรมอันหลากหลาย เพื่อให้เราได้มีโอกาสสำรวจตรวจสอบตัวเราเองอย่างแน่ชัด และ ได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อสังเกตการทำงาของธาตุในตัวเราและเพื่อน เพื่อสร้างสมดุลให้กับตนเอง เพื่อความสุขในการใช้ชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์ และ ความเป็นครู

วันที่สี่ ความย้อนแย้งและการออกแบบการสอน 1) พื้นที่ควรมีขอบเขต และ เปิดกว้าง 2) พื้นที่ควรมีไมตรีจิตและสิ่งเร้า 3) พื้นที่เชื้อเชิญเสียงของปัจเจกและเสียงของกลุ่ม 4) พื้นที่ควรให้เกียรติเรื่องราว”เล็กๆ” ของนักศึกษาและเสียง”ใหญ่” ทางสายวิชาการและวัฒนธรรมดั้งเดิม 5) พื้นที่ควรสนับสนุนความวิเวกสันโดษและล้อมรอบด้วยทรัพยากรของชุมชน 6 พื้นที่ควรตั้อนรับทั้งความเงียบและคำพูด

ครูก๋วยชวนผู้เข้าร่วมปรับแนวทางการปรับสมดุลในการใช้ชีวิตและการสอน แล้วลองออกแบบการสอนจากความผิดพลาดล้มเหลวของการสอนในอดีต โดยใช้หลักคิดเรื่อง ความย้อนแย้ง อำนาจสามแบบและสมดุลธาตุเข้าไปใช้ โดยช่วงบ่ายเป็นการทดลองสอน โดย มีเพื่อนร่วมเป็นนักเรียนจากนรก เพื่อฝึกฝนกระบวนการครูกล้าสอน

นี่คือข้อเท็จจริง

  •  นักเรียนจำนวนมากไม่มีทิศทางและขาดแรงจูงใจ
  •  นักเรียนพวกนี้ไม่ค่อยมีทักษะทางสังคม
  •  ที่จำเป็นต่อการทำงานกลุ่มและการเจรจาต่อรอง
  •  เบื่อหน่ายและเฉื่อยเนือยในสถานการณ์ที่ต้องกระตือรือร้น
  •  ก้าวร้าวและชอบทำลายในบริบทที่ต้องใคร่ครวญ

รายการเหล่านี้น่าทึ่งไม่น้อย การที่คณาจารย์บางส่วนยืนยันอย่างโหดร้ายว่า นักเรียนยุคนี้คุณภาพต่ำกว่าสมัยของพวกเขาโดยสิ้นเชิงทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความเสื่อมถอยได้มากมายถึงเพียงนั้นเลยหรือ บางทีดีเอ็นเอก็อาจเสื่อมลงในช่วงเวลายี่สิบปีที่ผ่านมาด้วย”

“นักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากสังคม ความเงียบที่เราพบเจอในชั้นเรียน เป็นความเงียบเดียวกับความเงียบของประชาชนที่อยู่ชายขอบ เป็นกลุ่มคนที่มีเหตุผลที่เกรงกลัวผู้มีอำนาจ และเรียนรู้ที่จะรักษาตัวให้รอดปลอดภัยด้วยการไม่ปริปาก”

“เมื่อผมได้วิธีที่จะให้นักศึกษาคนอื่นๆได้อยู่หลังพวงมาลัยบ้าง ผมก็จะให้กำลังใจพวกเขาในการค้นหาเสียงของตัวเองและพูดมันออกมา มีหลายๆวิธีการที่จะช่วยให้ผมทำอย่างนี้ได้ แต่ก่อนที่ผมจะเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างซื่อตรงและมีประสิทธิภาพ ผมต้องเข้าใจความกลัวในหัวใจลูกศิษย์ของผมเสียก่อน รวมทั้งความกลัวของตัวผมเองด้วย”

“เมื่อผมได้วิธีที่จะให้นักศึกษาคนอื่นๆได้อยู่หลังพวงมาลัยบ้าง ผมก็จะให้กำลังใจพวกเขาในการค้นหาเสียงของตัวเองและพูดมันออกมา มีหลายๆวิธีการที่จะช่วยให้ผมทำอย่างนี้ได้ แต่ก่อนที่ผมจะเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างซื่อตรงและมีประสิทธิภาพ ผมต้องเข้าใจความกลัวในหัวใจลูกศิษย์ของผมเสียก่อน รวมทั้งความกลัวของตัวผมเองด้วย”

นักเรียนจากนรก

ตอนค่ำ เราร่วมกันชมภาพยนต์ เรื่อง”Children Full of Life” เรื่องราวของครูนากาโมริ วัย57 ครูประจำชั้นประถมปีที่4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ครูกล้าสอนผู้มีเป้าหมายที่จะสอนนักเรียนให้มีความสุข ครูผู้ปลุกเร้าวิญญาณความเป็นมนุษย์ในตัวนักเรียน ช่วงเวลาปีเดียวของลูกศิษย์ที่ได้เรียนรู้กับคุณครูนากาโมริ จะเป็นหนทางในการเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคง และเป็นพลเมืองดีของสังคมต่อไป

วันที่ห้า คนตัวเล็กๆอย่างเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง เราชวนกันตั้งวงคุยสรุปบทเรียนสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้ตลอดห้าวัน และชวนกันตั้งเป้าหมายประกาศเจตจำนงค์ที่จะกลับไปสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเราเอง อย่างน้อยก็ที่ห้องเรียนของเรา “เราแยกหัวคิดออกจากหัวใจ ผลก็คือ ใจที่ไม่รู้สึกและหัวที่คิดไม่เป็น เราแยกข้อเท็จจริงออกจากความรู้สึก ผลก็คือได้ข้อเท็จจริงที่ไร้ชีวิตชีวาและทำให้โลกห่างเหินไม่คุ้นเคย เราแยกทฤษฏีออกจากการปฏิบัติ ผลก็คือ ทฤษฏีต่างๆที่ไม่รู้จะเอามาใช้กับชีวิตได้อย่างไร และการปฏิบัติที่ขาดตวามเข้าใจ เราแยกการสอนออกจากการเรียนรู้ ผลก็คือเราได้ครูที่เอาแต่พูดแต่ไม่ฟังนักเรียน และ นักเรียนที่เอาแต่ฟังแต่ไม่ยอมพูด” เมื่อสิ่งต่างๆแยกขาดจากกัน เราเชื้อเชิญความหลากหลาย เข้ามาสู่ชุมชนของเรา ไม่ใช่เพราะมันถูกต้องทางการเมือง แต่เป็นเพราะความลี้ลับนานัปการของสิ่งประเสริฐนั้นต้องการมุมมองที่หลากหลาย เรายอมรับ ความกำกวม ไม่ใช่เพราะเราสับสนหรือลังเล แต่เพราะเราเข้าใจความคิดของเรานั้นไม่เพียงพอต่อความเข้าใจอันไพศาลของสรรพสิ่ง เราต้องรับ ความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่เพราะเราโกรธหรืออคติ แต่เพราะความขัดแย้งมีความจำเป็นต่อการแก้ไขอคติและความลำเอียงที่เรามีต่อธรรมชาติของสรรพสิ่ง เราปฏิบัติตนด้วยความซื่อตรง ไม่เพียงเพราะเราเป็นหนี้บุญคุณต่อกัน แต่เพราะการโกหกหลอกลวงในสิ่งที่เราเห็นถือเป็นการทรยศต่อความจริงแท้ เรานอบน้อมถ่อมตน ไม่ใช่เพราะเราสู้แล้วพ่ายแพ้ แต่เพราะความอ่อ่นน้อมเป็นเลนส์อันเดียวที่จะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งประเสริฐและเมื่อเราได้เห็นแล้ว ท่าทีเดียวที่เราทำได้คืออ่อนน้อมถ่อมตน เรากลายเป็นอิสรชน ได้ด้วยการศึกษา ไม่ใช่เพราะเรามีข้อมูลที่เป็นเอกสิทธิ์ แต่เพราะทรราชในรูปแบบใดก็ตามจะถูกสยบราบลงด้วยการปลุกความดีงาม การแสวงหาความรู้ในชุมชน ร่วมกับความงามของสิ่งประเสริฐ การศึกษาที่แท้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากนาย ก. จัดการศึกษาให้แก่นาย ข. แต่ทั้งสองต้องจัดการศึกษา ร่วมกัน โดยมีโลกเป็นสื่อกลาง โลกที่ทั้งกดดันและท้าทายทั้งคู่ให้แสดงทัศนะและความคิดเห็นเกี่ยวกับมันออกมา ทัศนะที่ก่อตัวขึ้นในความวืตกกังวล เคลือบแคลงสงสัย ความหวังหรือสิ้นหวังเหล่านั้นเอง ที่บอกเป็นนัยถึงประเด็นสำคัญอันเป็นรากฐานให้แก่การออกแบบเค้าโครงเนื้อหาของการศึกษา ท่ามกลางความปรารถนาจะสร้างสรรค์แบบจำลองอุดมคติของ”คนดี” กล้าที่จะสอน

Message us