การจัดการความรุนแรง จึงไม่ใช่เรื่องการขจัดความรุนแรง แต่ต้องทำความรู้จักกับความรุนแรงเพื่อลดรูปแบบความรุนแรงด้วยการรู้เท่าทันความรุนแรง

ปฐมบทแห่งอำนาจ วัฒนธรรมการจัดระเบียบโรงเรียนสะท้อนให้เห็นในทุกส่วนของโรงเรียน ตั้งแต่การจัดระเบียบโรงเรียน การจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารองค์กร การจัดระเบียบร่างกาย การจัดระเบียบความรู้ การจัดระบบภาษา การจัดระเบียบพื้นที่ ซึ่งในทรรศนะของฟูโกต์แล้ว มองว่าเป็นเทคนิควิธีการและวิทยาการจองอำนาจที่มีความแยบยล พลิกแพลง ซับซ้อน จนมองไม่เห็นหรือเป็นเรื่องปกติสามัญ ความพลิกแพลงซับซ้อนของอำนาจ ที่เห็นเป็นเรื่องปกติสามัญนี้ แฝงตัวอยู่ในการจัดกระทำดำเนินการต่างๆภายในโรงเรียน ที่เป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นวัตรปฏิบัติที่มีมาช้านาน 

วัฒนธรรมการจัดระเบียบโรงเรียน จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาในเมืองต่างจากการจัดการศึกษาที่กระจายไปในชนบท โดยโรงเรียนในเมืองนั้นรับใช้ราชการและการค้าขนาดใหญ๋ ส่วนการศึกษาในชนบทนั้นเพื่อคัดเลือกช้างเผือก การจัดระเบียบโรงเรียนจึงเป็นการผลิตซ้ำอุดมการร์ของรัฐที่ให้ความสำคัญกับภาคเมืองมากกว่าชุมชน เป็นความรุนแรงที่เบียดขับ และดึงทรัพยากรออกจากชุมชนไปสู่ภาคเมือง

วัฒนธรรมการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารองค์กร ที่มีรูปแบบลำดับชั้นลดหลั่นตามสายการบังคับบบัญชา พร้อมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่แสดงสถานภาพสูงต่ำ เป็นอำนาจสำคัญที่เข้ามากำหนดตำแหน่งแห่งที่นั้นๆผ่านบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และการจัดระเบียบความสัมพันธ์ผ่านสายการบังคับบัญชาที่แผงนัยแห่งความสัมพันธ์เชิงำนาจ จึงทำหน้าที่เป็นวาทกรรมสำคัญในการกำหนดผู้กระทำ (subject) โดยกำหนดให้ใครสามารถทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหนในระบบโรงเรียน

วัฒนธรรมการจัดระเบียบร่างกาย เป็นการจัดกระทำกับร่างกายของนักเรียนโดยตรงที่มีลักษณะเฉาพะเจาะจง เข้าถึงพื้นที่ส่วนตัว ผ่านทรงผม เครื่องแบบ การแต่งกาย การปฏิบัติตน ตลอดจนอากัปกริยาต่างๆไว้อย่างเป็นรูปธรรม กำหนดได้ในรูปของคะแนนความประพฤติ กำหนดโทษของการฝ่าฝืน ขณะเดียวกันก็มีรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติตามการจัดพื้นที่ร่างกายให้แยกย่อยลง สามารถตรวจสอบได้ทุกรายละเอียด เ่นเครื่องแต่งกาย รายละเอียดของรูปทรง การตัดเย็บ ความยาว สีผ้า ชนิดผ่้า รูปแบบกระเป็าเสื้อ การปักตราเครื่องหมาย จำนวนกระดุม จำนวนหูร้อยเข็มขัด เป็นการเพิ่มอำนาจการจ้องมอง สะท้อนการมีอำนาจควบคุมที่แพร่กระจายไปในทุกอณูของพื้นที่ ที่ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ของร่างกาย

วัฒนธรรมการจัดระเบียบเวลา เทคนิครูปแบบหนึ่งของการควบคุม ที่นำตารางเวลามากำหนดว่าเวลาใด ต้องมีกิจกรรมอะไร กับใคร ที่ไหน ไม่เพียงแต่เด็กนักเรียนต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของตารางเวลา แม้แต่ครูก็อยู่ภายใต้การควบคุมนี้ ผ่านัญลักษ์ของการควบคุม ได้แก่ เสียงกระดิ่ง เสียงออด ให้เวลาในโรงเรียน คิอ เครื่องควบคุมคนหมู่มาก

วัฒนธรรมการจัดระเบียบความรู้ การจัดกระทำผ่านการจัดการความสำคัญของความรู้ โดยกำหนดให้ความรู็ในสาขาวิทยากศาสตร์-คณิตศาสตร์ เป็นสาขาที่มีความสำคัญ ในฐานะวิชาการที่สามารถเปิดช่องให้กับการศึกษาในระดับสูงที่หลากหลายสาขากว่าสาขาอื่น การตอกย้ำความสำคัญและยิ่งใหญ่ของสาขาวิชานี้ด้วยการกำหนดให้ผู้ที่สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชานี้ต้องเป็นมีสติปัญญาสูง การคดนักเรียนต้องใช้ตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงสติปัญญาของนักเรียน เกรดเฉลี่ยน ผลการสอบ ผลการเรียน เพื่อทำหน้าที่คัดสรร แบ่งแยก จำแนก ความแตกต่างให้แก่นักเรียนอีกด้วย การจัดระบบภาษา ภาษาได้ทำหน้าที่ปิดกลบไม่ให้ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมเผยกายออกมาให้คนยำเกรง โดยภาษาจะมีครูเป็นผู้พูดที่น่านับถือของกว่าคนในชุมชน แต่ภาษาที่ทำงานในด้านการแสดงอารมณ์ การแสดงความเข้าใจ การโต้ตอบด้วยเหตุผล กลับกลายเป็นภาษาที่แสดงอำนาจของผู้พูด การโต้ตอบกระทำได้ยาก เพราะจัดทำเป็นประกาศของสถาบัน ทำให้เป็นภาษาทางการ ภษากฏหมาย ภาษาวิชาการ ท้ายที่สุดภาษาพวกนี้กลายเป็นภาษาเพื่อการจัดระเบียบ ภาษาที่เป็นการตีตราปิดฉลาก เช่น เด็กเหรียญทอง เด็กอัจฉริยะ เด็กสองภาษา เด็กกิจกรรม เด็กเก ล้วนติดตัวเด็กและกลายเป็นอัตตลักษรื ภาษาจึงมีอำนาจกำหนดความหมาย มีอิทธิพลทางความคิด และสามารถบิดเบือน ลดภาพบางส่วนได้อีกด้วย

วัฒนธรรมการจัดระเบียบพื้นที่ เป็นรูปแบบอำนาจที่จัดการผ่านพื้นที่ โดยกำหนดให้พื้นที่ปกติสามัญกลายเป็นเป็นพื้นที่ของการกำกับ ควบคุม และพื้นที่เฉพาะกลายเป็นพื้นที่ของการแบ่งแยก เช่นพื้นที่ทางเข้าโรงเรียน เและพื้นที่หน้าเสาธง เป็นพื้นที่ของการใช้อำนาจกำกับ ควบคุม ตรวจสอบ ติดตาม ลงโทษ ในกรณีนักเรียนทำผิดระเบียบ พื้นที่”ห้องคิงห้องบ๊วย” เป็นพื้นที่เฉพาะสำหรับเด็กเรียนเก่ง เรียนอ่อน พื้นที่ในโรงเรียนจึงเป็นการดำรงอยู่ของอำนาจในทุกอณูของโรงเรียน โโยสร้างอัตตลักษณ์ให้กับนักเรียน และสถาปนาอัตตลักษณ์ที่พึงประสงค์ขึ้นให้อยู่ในฐานะสิ่งดีงาม เป็นที่น่ายกย่องเชิดชู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เบียดขับ ปิดกั้น ลดทอนความสำคัญของนักเรียนที่มีลักษณะที่ต่างออกไป โดยการแบ่งแยกแจกแจง จัดลำดับความสำคัญให้กับสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นความแยบยลของอำนาจในการกำหนดระบบคิดของคนให้การยอมรับถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

ภายใต้ภาพของความปกติธรรมดา เป็นธรรมชาติ เป็นเรื่องที่ยอมรับได้โดยปริยาย เป็นสัญญาณสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามอย่างปกติธรรมดาสามัญ การไม่เาทันของความปกติธรรมดา และการยอมรับโดยไม่ตั้งคำถาม จึงเป็นการยอมรับสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงที่แฝงตัวอยู่นั้นให้ดำรงอยู่ต่อไปโดยได้รับการคุ้มครองป้องกัน ความรุนแรงทางวัฒนธรรมนั้นเป็นความรุนแรงที่หยั่งรากลึก สามารถแปลงร่างพรางกายได้หลากหลายมิติ หลายรูปแบบ การทำความรู้จักกับความรุนแรงจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นสิ่งที่พึงร่วมกันทำ ด้วยเป็นหนทางเดียว ที่จะประกันความเสี่ยง ที่จะเผชิญหน้ากับความรุนแรงอย่างไม่มีการเตรียมตัว ตั้งรับ และไม่รู้เท่าทัน เชื้อไฟแห่งความรุนแรงนั้นไม่อาจดับลงได้หากสังคมไทยยังมีพื้นที่เอื้อเฟื้อให้คววามรุนแรงหลบซ่อนและแงกายอยู่อีกมากมาย

ประจักษ์ ก้องกีรติ และ คณะ เขียน
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการ
สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนพ.มติชน

Message us