แปลและเรียบเรียงเพิ่มเติมจากการถอดประสบการณ์ จากหนังสือชื่อ
“Transformative Learning in Practice : Insights from Community Workplace and Higher Education”
เขียนโดย Jack Mezirow , Edward W. Taylor และคณะ

หนังสือเล่มนี้ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจถึงธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบุคคล ต้องผ่านการท้าทายกรอบแนวคิดเดิม คุณค่าเดิม ด้วยการติดตาม ตรวจสอบ จากข้อมูลใหม่ หาเหตุผลจนเห็นแง่มุมใหม่ๆ จนเกิดสภาวะของการเปลี่ยนแปลง เป็ฯกุญแจสำคัญของคนที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง และ ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงของตนเอง หมู่คณะ ชุมชน และสังคมรอบตัว 

บทที่3 สร้างความจริงต่างแนว

ศิลปะมีส่วนช่วยสร้าง”พื้นที่” ( Space ) การเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ศิลปะที่ผู้เขียนใช้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การใช้ภาพ (Visual Metaphor) เพื่อแสดงขั้นตอนพัฒนาการของผู้ใหญ่ ใช้กล้องถ่ายภาพเพื่อเรียนรู้เทคนิคการสังเกตเพื่อการวิจัย ใช้บทกวีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และ ใช้ละครเพื่อเล่าเรื่อง เป็นต้น ในประสบการณ์เหล่านี้ก็จะมีคนที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ( Transform ) ขึ้นได้ เนื่องจากประสบการณ์จากการทำงานศิลปะเป็นอีกมิติของประสบการณ์ที่ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสบการณ์การเรียนรู้แบบอื่นๆ 

ผู้เขียนนิยามคำว่า Transformative Learning ว่าหมายถึง การเปลี่ยนรูป ( Shape-Shifting ) เปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนโลกทัศน์ เปลี่ยนความสัมพันธ์ของตัวเราเองต่อผู้อื่น เพื่อให้เกิดสังคมที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น โปรดสังเกตว่าผู้เขียนบทนี้ มีเป้าหมายสุดท้ายของ Tranformative Learning คือสังคมที่เป็นธรรม ไม่ได้เป็นเพียง TL แบบลอยๆ หรือกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น 

การใช้ละครเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 

ละคร สามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงได้ โดยละครจะเป็นตัวสื่อความเข้าใจประสบการณ์ชีวิตผ่านสู่สาธารณะ โดยที่ผู้ชมไม่ได้เป็นเพียงฝ่ายรับรู้เท่านั้น แต่ประสบการณ์ของผู้ชมจะผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงด้วย เพราะในระหว่างชมการแสดง ผู้ชมก็จะเกิดการสะท้อนคิดไปในตัว ซึ่งการใคร่ครวญสะท้อนคิดนี้ อาจเกิดจากประสบการณ์ตรงของตนเองจากการได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่น โดยอาจเกิดจากการนำเสนอเป็นข้อเขียน การเล่าเรื่องด้วยวาจา หรือ การเล่าเรื่องด้วยการแสดงละคร 

ร่างกายของเราดูดซับ หรือ สั่งสมความรู็ส่วนที่ยังไม่ถ่ายทอดเข้าสู่สมองหรือจิตสำนึก การแสดงละครจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยนำเอาความรู้ส่วนที่ซ่อนเร้นอยู่นั้น ออกมาเปิดเผยสู่กระบวนการทำความเข้าใจ จนกระทั่งเกิดปัญญาและการเปลี่ยนแปลง

วงเสวนาละครสะท้อนการกดขี่ โดย Randee Lipson Lawrence 

เรื่องเล่าต่อไปนี้มาจากการประชุมปฏิบัติการแก่อาจารย์ และนักศึกษา โดยใช้เครื่องมือละครเพื่อผู้ถูกกดขี่ Theatre for The Oppressed ซึ่งมีเป้าหมายของชั้นเรียนว่า ใช้เทคนิคการเล่นละครเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องราวที่ยากลำบากและมีความขัดแย้ง รวมทั้งเพื่อฝึกซ้อมหาวิธีการแก้ไขการถูกดขี่ในแนวทางใหม่ ละครเรื่องนี้เริ่มต้นด้วยการอุ่นเครื่องให้สมาชิกคุ้นแคยกับการทำงานด้านร่างกาย เนื่องจากผู้ใหญ่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการเรียนด้วยการคิด แต่ไม่คุ้นเคยกับการเรียนด้วยร่างกาย ผู้เขียนจึงลดความกังวลของสมาชิดชกด้วยการบอกว่า กิจกรรมนี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่การแสดง แต่มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาวิธีการเรียนแนวใหม่

จากนั้นให้สมาชิกแต่ละคน นึกถึงเหตุการณ์การกดขี่ที่ตนเองเคยเผชิญ และ ให้แสดงการกดขี่นั้นด้วยร่างกายของตน 1 ท่า โดยให้สมาชิกคนอื่นๆคอยเฝ้าดู เวียนกันไปจนกระทั่งทำครบทุกคน ตามด้วยกระบวนการอภิปรายเพื่อความเข้าใจท่าทางของแต่ละคน ต่อจากนั้นให้แต่ละคนออกมาสร้างประติมากรรมของเหตุการณ์การกดขี่ ที่ตนต้องตกเป็นเหยื่อ โดยใช้ร่างกายของเพื่อนเป็นอาสาสมัคร ต้องไม่มีการสื่อสารด้วย”ถ้อยคำ”ใดๆ และ “ประติมากร” ต้องทำงานอย่างรวดเร็วโดยไม่คิดมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลในใจหล่นหายไประหว่างทางของการคิด ผู้ทำหน้าที่ประติมากรคนหนึ่งชื่อ คาร์สัน (นามสมมติ) เป็นหนุ่มเกย์ ที่สร้างประติมากรรมเล่าเรื่องในวัยเด็ก ที่ตนเองถูกกลุ่มวัยรุ่นเกเรกลุ่มหนึ่งรุมทำร้าย เพราะมีท่าทางที่แปลกแตกต่างไปจากคนอื่น ในภาพประติมากรรม คาร์สันนอนคุดคู้เอามือสองข้างกุมศีรษะอยู่ท่ามกลางวงวัยรุ่นที่กำลังทุบตีเขา ในขณะที่สร้างประติมากรรม เพื่อนๆทั้งที่แสดงเป็นส่วนหนึ่งของประติมากรรมชิ้นนี้ และ ผู้ชม ต่างก็ไม่เข้าใจเหตุผลของการถูกทำร้าย แต่เมื่อมีการเสวนากันภายหลังคาร์สันจึงเฉลยว่าเป็นเพราะเขาเป็นเกย์ และอธิบายว่า เขามีความรู้สึกอย่างไรบ้างในเหตุการณ์นั้น คาร์สันบอกว่าเขาไม่กล้าบอกพ่อแม่และครู เพราะในตอนนั้นเขายังไม่เปิดเผยว่าตนนเป็นเกย์ และเขาเกรงว่าหากเขาบออกออกไปจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น 

คาร์สัน บอกว่าเพื่อนที่ร่วมทุบตีเขาบางคนบอกว่า ตนสงสารคาร์สันแต่ต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน จึงต้องร่วมทุบตีไปด้วย แต่ก็มีบางคนบอกว่า ได้ร่วมวงทุบตีดีกว่าเป็นผู้ถูกกระทำเสียเอง

ในที่สุดวงเสวนา ก็คุยกันเรื่องการเป็นผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่ ว่าเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันหรือไม่ หรือ มีทางที่คนที่เกี่ยวข้องจะปฏิเสธบทบาทการเป็นผู้กดขี่ หรือ ผู็ถูกกดขี่ วงประชุมได้ลองสร้างประติมากรรมใหม่โดยที่อาาสาสมัครออกไปจำลองเหตุการณ์สถานการณ์ที่คาร์สันไม่ยอมรับการถูกรุทำร้ายทีละคนๆ โดยในประติมากรรมชิ้นหนึ่ง ออกแบบให้คาร์สันยืนตัวตรง ศีรษะเชิด จนทำให้กลุ่มวัยรุ่นเกเรเดินจากไป และ อีกประติมากรรมหนึ่ง คาร์สันยื่นมือขึ้นในลักษณะกำลังอธิบายอะไรบางอย่าง จนกลุ่มวัยรุ่นล้อมวงตั้งใจฟัง อีกประติมากรรมหนึ่งเพื่อนวัยรุ่นจำนวนหนึ่งกำลังห้าปรามขัดขวางไม่ให้เพื่อนรุมทำร้ายคาร์สัน นี่เป็นตัวอย่างของการใช้การแสดงละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสารว่า ในแต่ละปัญหามีแนวทางแก้ไขใหม่ๆเสมอ

Message us