ตลอดปีที่ผ่านมา มะขามป้อมยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อ “สร้างคน สร้างความรู้ สร้างพื้นที่ สร้างชุมชน สร้างสังคม” ตามแนวทางที่พวกเราเชื่อมั่นและศรัทธาต่อไป หลายอย่างประสบความสำเร็จมากกว่าที่คาดคิดไว้ อีกหลายหย่างล้มเหลวไปไม่ถึงฝั่งฝัน แต่ทั้งหมดคือ การเรียนรู้ของพวกเราที่จะทำให้พวกเราก้าวเดินต่อไปในวัยหนุ่มสาวอย่างเต็มที่ ในวัย 37 ปีขององค์กรเล็กๆแห่งนี้ 

พวกเราจะเดินทางมาถึงวันนี้ไม่ได้ หากขาดแรงสนับสนุนจากเพื่อนๆพี่น้องกัลยาณมิตรจากทั่วสารทิศ องค์กรทุนและผู้สนับสนุนทุกท่าน

ที่สำคัญคือ ครอบครัวมะขามป้อมทั้งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกท่านที่อุทิศตัวทำงานอย่างทุ่มเท และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งอันสำคัญยิ่งของเรา เราจะเดินทางบนเส้นทางแห่งอุดมการณ์ร่วมกันต่อไป

มะขามป้อมอาร์ตสเปซเชียงดาว

3

มหาลัยเถื่อนปี4 : The Future: ปัญญาอนาคต 

การเดินทางของชุมชนนักปฏิบัติการเรียนรู้ที่ขี้เกียจใส่ใจกระทรวงศึกษา 

ปีนี้ได้รับความสนใจจากเพื่อนๆนักเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น มีสมาชิกมาร่วมงานกว่า 100 คน มากมายไปด้วยวิทยากรรับเชิญที่ยินดีอาสามาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนๆ ทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง รุ่นเล็ก ภายใต้แนวคิด “The Future : ปัญญาอนาคต“ ทั้งคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา คุณโตมร ศุขปรีชา นิ้วกลม คุณสฤณี ดร.สรณรัชณ์ ดร.เดชรัต และทีมเถื่อนเกม อ.อนุสรณ์ คุณฐิตินบ นักยุทธศาสตร์การสื่อสารพื้นที่สามจังหวัดชายแดน พ่อโอ้คแม่โรสน้องช้างน้อยลิบตา แห่งบ้านเรียนมาลาดาราดาษ น้องกระติ๊บและน้องแดนไท น้องภู น้องแปลน น้องปูน แห่งพิพิธภัฑธ์เล่นได้ และอีกมากมายหลายท่าน

เช่นเดียวกับทุกๆปี ห้าวันเต็มของพื้นที่มหาลัยเถื่อน ที่ทุกคนร่วมกันสร้างความหมายของการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน การแบ่งปันทุกข์สุข เสียงหัวเราะ นอกจากความสนุกเพียงปีละครั้ง เราอยากให้การนัดกันประจำปีของคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ได้ทำหน้าที่มากกว่านั้น เราอยากส่งต่อพลังแรงบันดาลใจ เดินทางกลับไปพร้อมเพื่อนๆทุกคน เพื่อช่วยกันส่งต่อพลังเหล่านี้ต่อไป ต่อไป และต่อไป

6

Dialogue Theatre เรื่อง “THE VOICE” 

ละครถกแถลงในประเด็นการอยู่ร่วมกันของคนที่แตกต่างทางความคิด ที่มุ่งหวังการเปิดพื้นที่การสนทนา เพื่อช่วยแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง ด้วยการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ด้วยการตระเวณทำworkshop กับผู้ที่สนใจทั้งนักกิจกรรมทางสังคม นักศึกษา ครูอาจารย์ ที่ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คณะศิลปศษสตร์ ม.อุบลราชธานี และ นักกิจกรรมทางสังคม ที่กทม ขอบคุณเพื่อนๆกัลยาณมิตร ที่อุบล ทั้งหมอน้อย น้องวีกลุ่มสื่อใสวัยทีน น้องใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พร้อมกันนี้ในช่วงปลายปี มะขามป้อมยังร่วมกับ เครือข่ายนักกิจกรรมภาคเหนือ และ ร้านหนังสือ Book :REpublic จัดงาน”หนาวนี้มีแชร์” ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมทั้งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสำหรับคนรุ่นใหม่

8

โครงการปลูกต้นรักการอ่านเชียงดาว 

ร่วมกับ กศน.เชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงดาว ภาคีเครือข่ายการอ่านเชียงใหม่ ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว โดยการสน้บสนุนของแผนงานวัฒนธรรมการอ่าน สสส เราทำworkshop การออกแบบจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับครูศูนย์พัฒฯาเด็กเล็ก ติดตามและสนับสนุนการทำงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด จัดเวทีถอดบทเรียนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และจัดเวทีมหกรรมการอ่านเชียงดาว เพื่อแลกเปลี่ยนหนุนเสริมกำลังใจ ให้สามารถทำงานส่งเสริมการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งอำเภอ จนทำให้แกนนำครูรักการอ่านในออำเภอเชียงดาวสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านขยายผลให้แก่เด็กๆและครอบครัวในพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง จากการทำงานอย่างต่อเนื่องกับภาคีเครือข่ายพบว่า แกนนำส่งเสริมการอ่านนพื้นที่เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี 

17

โรงเรียนกายกรรมเด็กปางแดง 

จากการผลัดเปลี่ยนสมาชิกของคณะกายกรรมเด็กเป็นรุ่นที่ห้า ที่มุ่งหวังให้พวกเขาเป็นกระบอกเสียงของเด็กๆชาติพันธุ์ที่จะถูกถ่ายทอดผ่านการแสดง กำลังฝึกทักษะพื้นฐานด้านการแสดงหลายๆด้าน ทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย ทักษะกายกรรม การฝึกซ้อมอย่างหนัก โดยครูกอล์ฟ โดยการนำเอานิทานพื้นบ้านในหมู่บ้านมาดัดแปลงเป็นการแสดงละครกายกรรม และได้ตระเวณแสดงในโรงเรียนต่างๆทั้งอำเภอเชียงดาว เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และเป็นการสร้างเสริมความมั่นใจ มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนเองและพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

6

โปรแกรมโรงเรียนนานาชาติ 

การอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น 2-5 วัน จำนวน 20 โปรแกรม สำหรับเยาวชนจากโรงเรียนนานาชาติจากทั่วโลกมากกว่า 500 คน ที่มะขามป้อมจัด workshop ให้พวกเขา ในเรื่องศิลปะสร้างสรรค์ ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง และ โครงการจิตอาสาในชุมชน ช่วยสร้างทักษะในการเรียนรู้ใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ให้กับเยาวชน ได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมอันแตกต่าง การอยู่ร่วมกันอย่างเคารพความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม เกิดจิตสำนึกสาธารณะต่อสังคมในฐานะพลเมืองของโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างได้ผลอย่างยิ่ง 

Study Tour โครงการแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติเพื่อการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมในชุมชน  ร่วมกับ มหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย ระยะเวลาสามสัปดาห์ คนหนุ่มสาวจากต่างวัฒนธรรมมาร่วมเรียนรู้กระบวนการะครเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชน ผลิตผลงานละครร่วมกัน 

7

โรงเรียนวิทยากร 3.0 ปี 3

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเรียรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 4 หลักสูตร
หลักสูตร “การออกแบบการเรียนรู้ที่มีหัวใจ”
หลักสูตร “การสอนผ่านโครงการสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่21”
หลักสูตร “การเรียนรู้บนฐานชุมชน” 
หลักสูตร “การสื่อสารสร้าสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” 

ในปีนี้เรามีเพื่อนๆมาร่วมเรียนรู้กับพวกเรา 50 คน จากหลากหลายสาขาอาขีพทั้ง ครูอาจารย์หลากหลายสาขา จิตแพทย์ ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐ สาธารณสุข สื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม นักศึกษา การสร้างชุมชนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิถีที่เราเชื่อมั่น ศรัทธา เติมเต็มจิตวิญญาณของกันและกัน ได้มาท่องเที่ยว พักผ่อน สร้างแรงบันดาลใจร่วมกันเพื่อกลับไปขับเคลื่อนงานของพวกเราอย่างมีพลังต่อไป มันช่างเป็นงานที่ดีงามมากจริงๆ

16

มะขามป้อมศูนย์กรุงเทพ ฝ่ายการศึกษา

โครงการโครงการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบและวิทยากรฝึกอบรม (Train-The-Trainer Program)
หลักสูตร “ละคร : กระบวนการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ร่วมกับศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส) ให้กับผู้นำการเรียนรู้ จำนวน 80 คน

ในช่วงตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เราสร้างความรู้ด้วยการออกแบบและพัฒนา “หลักสูตรต้นแบบ” ที่มีรูปแบบเฉพาะในลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 หลักสูตร คือ

(1) หลักสูตร “กระบวนการละครสร้างสันติเพื่อสังคมสุขภาวะ” 
(2) หลักสูตร “การออกแบบการเรียนรู้ที่มีหัวใจ”
(3) หลักสูตร “การสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง”

ในระหว่างการเดินทางได้มีการปรับและพัฒนา ‘ 3 หลักสูตรต้นแบบ’ ให้มีลักษณะเฉพาะ สามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ชี้ชวนและยืดหยุ่นให้ผู้เข้าร่วมนำไปประยุกต์ใช้จนเกิดทักษะใหม่ ความรู้ใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และกระบวนทัศน์ใหม่ ตรงกับความต้องการที่มีความหลากหลายของผู้เข้าร่วมมากขึ้น ในห้องเรียนการเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะแบบมะขามป้อมที่ทั้งสนุก สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม และสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเคารพประสบการณ์ผู้เรียน ทำให้เกิดการออกแบบกระบวนการที่เรียงร้อยแบบเป็นขั้นตอนผสานกับบรรยากาศการเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมที่ตลบอบอวนไปด้วยความกระหายใคร่รู้ โดยเฉพาะช่วงการ Reflection ที่มีความสำคัญไม่แพ้ช่วงกระบวนการเรียนรู้ การตกตะกอนถอดความความรู้ การช่วยกันต่อยอด เติมเต็มกันและกัน ช่างเป็นไปด้วยความเข้มข้น ด้วยความหลากหลายและความเชี่ยวชาญของผู้เรียน แต่ที่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้สำหรับ Train The Trainer ห้องเรียนที่ถูกออกแบบมาอย่างเลือกสรร ผนวกเข้ากับผู้เรียนที่มีศักยภาพพร้อมเรียนรู้และเปิดรับ และพร้อมจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปต่อยอดสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในงานตัวเอง 

12

โครงการค่ายก้าวข้าม HIV : ร่วมกับ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ สำหรับเยาวชนผู้ติดเขื้อจำนวน 30 คน

ค่ายการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 ครั้ง ด้วยพื้นฐานที่เยาวชนที่เข้าร่วมมีความหลากหลายและแตกต่างกันในเรื่องของความสามารถในการเรียนรู้ และแตกต่างในเรื่องของอายุ และด้วยบริบทของเด็กที่เติบโตมา ที่แตกต่างต่างกัน มีทั้งเด็กที่โตในสถานสงเคราะห์และโตกับครอบครัวที่มีผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อกระบวนการออกแบบหลักสูตรโดยที่เนื้อหา คือ
1 ค่ายการเรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง ในแง่มุมต่างๆทั้งด้านดีและด้านลบ การได้ทำความรู้จักกับเพื่อนๆในเชิงลึก ผ่านประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนเพื่อค้นหาและทำความเข้าใจทั้งตนเองและยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ เกม ศิลปะ บทบาทสมมุติ ดนตรี การเคลื่อนไหว
2 ค่ายการเรียนรู้สังคม กระบวนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเปิดพื้นที่ความไว้วางใจและการเรียนรู้ร่วมกัน ให้ทุกคนมีโอกาสร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความคิด และการเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ จนสามารถเชื่อมโยงไปสู่การนำไปใช้ในชีวิตได้
3 ค่ายการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อฝึกฝนกระบวนการสื่อสารในประเด็นผู้ติดเชื้อกับสังคม ทั้งเครื่องมือละคร ถ่ายภาพ งานเขียน และ นิทรรศการสร้างสรรค์ 

เมื่อผ่านกระบวนการอบรมทั้ง 3ครั้ง เยาวชนที่เข้าร่วม มีการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิด ที่เข้าใจมุมอื่นๆมากขึ้น เห็นบริบทสังคมที่มาที่ไปของแนวความคิดที่มีต่อเรื่อง เอชไอวี และเปิดใจกับความแตกต่างหลากหลายของการเรียนรู้ที่ไม่คุ้นเคย มีความเข้มแข็งจากสภาวะอารมณ์ภายใน สามารถสื่อสารความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้ว่าอะไรที่เป็นการเติบโตของตัวเอง ทั้งปัญญา3ฐาน คือความรู้ ความรู้สึก และทักษะที่ได้ และสามารถนำไปใช้ได้จริงชีวิตต่อไป

9

งานเครือข่าย 

ปีที่ผ่านมาเราได้รับเชิญให้ไปร่วมงานองค์กรอันหลากหลาย ที่ต่างมีเป้าหมายเพื่อการสร้างสังคมที่ดี ร่วมกับ ศว.ชต และ มูลนิธิคศน. โดยการนำทีมของ รศ.ดร. เมตตา กูนิง ร่วมพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเยียวยา ผลได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ“การออกแบบการเรียนรู้ที่มีหัวใจ” “การสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” ให้แก่ ครุอาจารย์นักศึกษาหลายสถาบัน ทั้ง ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบล เครือข่ายแพทย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เครือข่ายองค์กรงดเหล้า เป็นต้น

Message us