การใช้ความรุนแรงของรัฐไทยและความอยุติธรรมกับคนต่างศาสนา หรือที่ถูกมองว่าเป็นพวกนอกรีต ทําให้เกิดมรณสักขีของคริสต์ศาสนิกชนในหลายพื้นที่
มรณสักขี คือ ผู้ที่ถูกทําให้ถึงแก่ความตายเพราะไม่ยอมเปลี่ยนความเชื่อของตัวเอง เช่น การขว้างก้อนหินใส่จนตายหรือแม้กระทั่งการถูกประหาร
ในยุคหนึ่ง รัฐไทยมีการปราบปรามผู้นับถือศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลจากศูนย์กลาง เช่นภาคอีสาน ที่ในตอนนั้นมีการเกิดขึ้นของกบฏผู้มีบุญอยู่ด้วย ทําให้ถูกเพ่งเล็งจากอํานาจส่วนกลางว่าอาจมีการขัดขืนต่อรัฐไทย
การฆ่าคริสต์ศาสนิกชนทําไปเพื่อการกําจัดคริสตศาสนิกชนที่เข้าไปเผยแผ่ศาสนาในที่ที่คน ณ ตรงนั้นไม่ยอมรับและเชื่อฟังรัฐส่วนกลาง เหมือนการที่บุญราศียอแซฟอุทัย พองพูมโดนมรณสักขีที่ประเทศลาวพร้อมกับคุณพ่อโนแอล เตอโน
บุญราศียอแซฟอุทัย พองพูม เกิดในหมู่บ้านคําเกิ้ม เคยเป็นครูสอนศาสนาที่วัดนักบุญยอแซฟบ้านคําเกิ้ม เป็นผู้ช่วยคนสําคัญของคุณพ่อโนแอล เตอโน ในการเผยแพร่คําสอนและการเยีBยมเยียนคริสตชนในหมู่บ้านต่างๆ
ในส่วนของคุณพ่อโนแอล เตอโนเป็นอดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นอุปสังฆราชมิสซังท่าแขกที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) ก่อนหน้าที่จะมรณสักขี คุณพ่อโนแอล เตอโนและบุญราศียอแซฟอุทัย พองพูมเป็นผู้ติดตามไปด้วย ได้รับมอบหมายให้บุกเบิกเขตแพร่ธรรมใหม่ในแขวงสะหวันนะเขตในเดือนเมษายน พ.ศ.2504 (ค.ศ.1961)
แต่ก่อนจะไป คุณพ่อโนแอลได้พูดกับบุญราศีอุทัยว่า “เราจะตายด้วยกันและไปสวรรค์ด้วยกัน” เหมือนรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับทั้งสอง ระหว่างที่เยี่ยมเยียนคริสตศาสนิกชนอยู่ก็โดนทหารเวียดนามเหนือจับตัวท่านทั้งสองให้ทหารฝ่ายลาว (คอมมิวนิสต์) ใกล้กับเมืองพะลาน ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองลาว ช่วง พ.ศ. 2502-2518 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ประเทศลาวที่ส่วนมากมีเชื้อสายมาจากเวียดนามเหนือ และฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักรลาว
คนที่มรณสักขีที่วัดนักบุญยอแซฟบ้านคําเกิ้มมีแค่คนเดียวก็คือบุญราศียอแซฟอุทัย พองพูม สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมรณสักขีก็จะแตกต่างกัน บางคนเสียชีวิตโดยการถูกยิงสัญลักษณ์ก็จะเป็นปืน บางคนถูกแทงด้วยมีดสัญลักษณ์ก็จะเป็นมีด และสัญลักษณ์ก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุการเสียชีวิตของแต่ละคน
จากการพูดคุยกับผู้ใหญ่บ้านบ้านคําเกิ้ม ในปัจจุบันยังมีการเหยียดศาสนากันอยู่ เพราะผู้คนมีต่างความคิดและความเชื่อ ทําให้ชาวคริสต์ในหมู่บ้านคําเกิ้มถูกต่อต้านจากหมู่บ้านรอบข้าง และไม่ได้รับการยอมรับ
การมรณสักขีในแต่ละที่มีความเชื่อที่เหมือนกัน และสิ่งนี้เป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่สําหรับคริสตชนที่จงรักภักดีต่อศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่ นับเป็นวีรกรรมที่น่ายกย่องและเป็นการน่าชื่นชมยินดีของศาสนจักรทั้งมวล
ผู้เขียน: นางสาวสุวิภาวรรณ สุวรรณบุปผา โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
ผลงานจากการอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการผลิตเรื่องเล่าสำหรับเยาวชน โครงการเล่าเรื่องแม่น้ำโขง เฟส 2
Mekong Storytelling Phase II: Empowering Young Local Storytellers