หลักสูตรนักออกแบบการเรียนรู้ที่มีหัวใจ
Transformative Learning Designer

หลักสูตรนี้จะมุ่งสู่หัวใจสำคัญของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) กระบวนการจะพาผู้เรียนทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบุคคล ที่ต้องผ่านการท้าทายกรอบแนวคิดเดิม คุณค่าเดิม ด้วยการตรวจสอบ ติดตามจากข้อมูลใหม่ ความรู้ใหม่ เพื่อเผยให้เห็นแง่มุมใหม่ๆของการเรียนรู้ พร้อมแสวงหาแนวทางในการออกแบบการเรียนรู้ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม มีชีวิตชีวา ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

เราจะสร้างห้องเรียนที่มีชีวิตและมีความหมายต่อผู้เรียนได้อย่างไร มาเรียนรู้การออกแบบการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมด้วยปัญญาสามฐาน ฝึกฝนเทคนิคการเป็นผู้นำการเรียนรู้ ผ่านหลัก 3 ก. เกม กิจกรรม และกระบวนการ พร้อมการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learners)

สังเขปเนื้อหา

ภาคทฤษฎี

ทฤษฏีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning Theory ) 
ทฤษฏีสร้างการเปลี่ยนแปลง ( Theory of Change )
ทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ( 21st Century Skills

ภาคปฏิบัติ

มองเข้าไปข้างใน ความเป็นคนของคนเป็นครู
ทบทวนภูมิทัศน์ภายใน ครูในฐานะมนุษย์


กล้าที่จะไม่สอน : จากการสอนในวัฒนธรรมอำนาจนิยมสู่กระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
ห้องเรียนกับพื้นที่เชิงอำนาจ การสอนวัฒนธรรมแห่งความกลัว
ความย้อนแย้งในการเรียนการสอน
พลังทั้ง6 ของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้แบบโครงการบนฐานปัญหา ( Project / Problem Based Learning )

หลักการออกแบบเกม กิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ที่มีหัวใจ ( Transformative Learning Curve )
ฝึกปฏิบัติการสอนอย่างสร้างสรรค์ ( Micro Teaching )
การประเมินผลการเรียนรู้แบบเสริมพลัง ( Empowering Assessment )

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

กิจกรรมวันที่ 1
10.00 เดินทางจากสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานีขนส่งเชียงใหม่ สู่อำเภอเชียงดาว
11.30 เช็คอินเข้าที่พักมะขามป้อมอาร์ตสเปซ
12.30 อาหารกลางวัน
14.00 กิจกรรมแรกพบ 
16.00 Walking Tour มหาลัยเถื่อน 
17.00 Free Time 
18.00 อาหารเย็น
19.00 กิจกรรม “มองเข้าไปข้างใน ความเป็นคนของคนเป็นครู / ทบทวนภูมิทัศน์ภายใน ครูในฐานะมนุษย์”
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย

กิจกรรมวันที่ 2
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ 
8.00 อาหารเช้า
9.00 การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ห้องเรียนกับพื้นที่เชิงอำนาจ การสอนวัฒนธรรมแห่งความกลัว
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 กิจกรรม “ความย้อนแย้งในการเรียนการสอน พลังทั้ง 6 ของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” 
16.30 Free Time ปั่นจักรยาน แช่น้ำร้อน อ่าหนังสือ เดินเล่น 
18.00 อาหารเย็น
19.00 ใคร่ครวญสะท้อนคิด “ทฤษฏีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” ( Transformative Learning Theory ) 
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย

กิจกรรมวันที่ 3
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ 
8.00 อาหารเช้า
9.00 กิจกรรม กล้าที่จะไม่สอน: จากการสอนในวัฒนธรรมอำนาจนิยมสู่กระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์การเรียนรู้แบบโครงการบนฐานปัญหา ( Project / Problem Based Learning )
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 กิจกรรม “หลักการออกแบบเกม กิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ที่มีหัวใจ” (Transformative Learning Curve)
16.30 Free Time ปั่นจักรยาน แช่น้ำร้อน อ่าหนังสือ เดินเล่น 
18.00 อาหารเย็น
19.00 ใคร่ครวญสะท้อนคิด “ทฤษฏีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” ( Transformative Learning Theory ) 
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย

กิจกรรมวันที่ 4
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ 
8.00 อาหารเช้า
9.00 กิจกรรม “ฝึกปฏิบัติการสอนอย่างสร้างสรรค์ 1” (Micro Teaching1)
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 กิจกรรม “ฝึกปฏิบัติการสอนอย่างสร้างสรรค์ 2” (Micro Teaching2)
16.30 Free Time ปั่นจักรยาน แช่น้ำร้อน อ่าหนังสือ เดินเล่น 
18.00 อาหารเย็น
19.00 ใคร่ครวญสะท้อนคิด “การประเมินผลการเรียนรู้แบบเสริมพลัง” (Empowering Assessment)  
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย

กิจกรรมวันที่ 5
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ 
8.00 อาหารเช้า
9.0 กิจกรรม Reflection / สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ / ทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) / พิธีปิด
12.30 อาหารกลางวัน
14.00 เช็คเอาท์ เดินทางกลับ

ระดับหลักสูตร:
หลักสูตรระดับผู้สร้างเครือข่าย Trainer

วันที่: 4 – 8  ตุลาคม 2566

ระยะเวลา: 5 วัน 35 ชั่วโมง

สถานที่: มะขามป้อมอาร์ตสเปซเชียงดาว @เชียงใหม่

ค่าลงทะเบียน: 13,500 บาท
รวมค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางจากจ.เชียงใหม่

Message us