หลักสูตรละครสำหรับนักเรียนรู้
Drama for Educator
“ละคร” (Theatre) นอกเหนือบทบาทหน้าที่สำคัญที่คนทั่วไปคุ้นเคยในฐานะการเป็นสื่อเพื่อสร้างความบันเทิงแล้ว ในอีกแง่มุมหนึ่ง คือ กระบวนการละคร (Drama) ยังมีศักยภาพอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ เพราะละครได้จำลองสถานการณ์ความจริงของมนุษย์ในทุกแง่มุม ช่วยส่องสะท้อนชีวิต ประสบการณ์ พฤติกรรมของตัวละคร ชวนให้ฉุกคิดพิจารณาชีวิตอย่างใคร่ครวญ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้แก่ทั้งผู้ชมและผู้แสดง กระบวนการละครจึงมีพลังอย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจความเป็นมนุษย์ และสามารถประยุกต์ใช้ในห้องเรียน ในสถานที่ทำงาน ในครอบครัว และ ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
กลุ่มละครมะขามป้อม เป็นนักปฏิบัติการทางละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมาอย่างยาวนานเกือนสี่ทศวรรษทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ มีประสบการณ์จริงภาคสนามจากหลากหลายกลุ่มทั้งกลุ่มเด็ก เยาวชน นักเรียนนักศึกษา นักกิจกรรมทางสังคม นักปฏิบัติการทางศิลปะ ผู้บริหาร จึงได้รวบรวมองค์ความรู้จากประสบการณ์สู่การปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งในโรงเรียน โรงเรียนแพทย์ สถาบันอุดมศึกษา นักกิจกรรมทางสังคม องค์กรเอกชน และ ภาคนโยบาย
สังเขปเนื้อหา
ภาคทฤษฏี
- “การศึกษาเพื่อผู้ถูกกดขี่” ถึง “ละครเพื่อผู้ถูกกดขี่” ต้นธารแนวคิดของละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ทฤษฎีละครสู่ทฤษฎีการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
ภาคปฏิบัติการ
- “ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง” (Theatre for Transformation)
- หันกลับมาด้านใน การรู้จักตัวเองผ่านการแสดง ผ่านการ ตั้งแกน ( Centering ) ผัสสะ ( Sensing ) การเชื่อมต่อ ( Connecting )
- ฝึกพื้นฐานการแสดงเบื้องต้น การเคลื่อนไหวร่างกาย ( Body Movement ) การใช้เสียง ( Voice ) สมาธิ ( Concentration ) จินตนาการ ( Imagination )
- การสร้างโครงเรื่องบทละครอย่างง่าย ( Play to Plot )
- การเข้าถึงตัวละคร ความต้องการภายในและแรงจูงใจของมนุษย์ ( Into Character )
- การเขียนบทละครสอนชีวิต ( Life Drama )
- ปฏิบัติการละครเพื่อการเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Drama)
- จับวรรณกรรมมาทำละคร ( Literature Play )
- ละครถกแถลง แปรเปลี่ยนความขัดแยังสู่การสานเสวนา (Dialogue Theatre)
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
กิจกรรมวันที่ 1
10.00 เดินทางจากสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานีขนส่งเชียงใหม่ สู่อำเภอเชียงดาว
11.30 เช็คอินเข้าที่พักมะขามป้อมอาร์ตสเปซ
12.30 อาหารกลางวัน
14.00 กิจกรรมแรกพบ
16.00 Walking Tour มหาลัยเถื่อน
17.00 Free Time
18.00 อาหารเย็น
19.00 ล้อมวงเล่า จาก “การศึกษาเพื่อผู้ถูกกดขี่” ถึง “ละครเพื่อผู้ถูกกดขี่” ต้นธารแนวคิดของละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย
กิจกรรมวันที่ 2
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ
8.00 อาหารเช้า
9.00 กิจกรรม “ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง” ( Theatre for Transformation ) / หันกลับมาด้านใน การรู้จักตัวเองผ่านการแสดง ผ่านการ ตั้งแกน ( Centering ) ผัสสะ ( Sensing ) การเชื่อมต่อ ( Connecting )
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 กิจกรรม “การสร้างโครงเรื่องบทละครอย่างง่าย” ( Plot to Story ) / เทคนิคการเข้าถึงตัวละคร ความต้องการภายในและแรงจูงใจของมนุษย์ ( Into Character ) / เทคนิคการเขียนบทละครอย่างง่าย
16.30 Free Time ปั่นจักรยาน แช่น้ำร้อน อ่านหนังสือ เดินเล่น
18.00 อาหารเย็น
19.00 การแสดงละครสอนชีวิต( Life Drama ) ใคร่ครวญสะท้อนคิด
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย
กิจกรรมวันที่ 3
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ
8.00 อาหารเช้า
9.00 กิจกรรม ปฏิบัติการละครเพื่อการเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Drama)
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 กิจกรรม เทคนิคการจับประเด็น(สังคม)มาเป็นละคร
16.30 Free Time ปั่นจักรยาน แช่น้ำร้อน อ่านหนังสือ เดินเล่น
18.00 อาหารเย็น
19.00 ใคร่ครวญสะท้อนคิด
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย
กิจกรรมวันที่ 4
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ
8.00 อาหารเช้า
9.00 กิจกรรม ละครถกแถลง ( Dialogue Theatre ) “แปรเปลี่ยนความขัดแยังสู่การสานเสวนา”
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 ซ้อมกระบวนการถกแถลง
16.30 Free Time ปั่นจักรยาน แช่น้ำร้อน อ่านหนังสือ เดินเล่น
18.00 อาหารเย็น
19.00 ฝึกปฏิบัติการละครถกแถลง / ใคร่ครวญสะท้อนคิด
21.00 พักผ่อนตามอัธยาศรัย
กิจกรรมวันที่ 5
7.00 กิจกรรมยามเช้า ปั่นจักรยาน เดินตลาด โยคะ
8.00 อาหารเช้า
9.00 กิจกรรม Reflection / สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ / การประยุกต์ใช้ละครกับการทำงานสนาม
12.30 อาหารกลางวัน
14.00 เช็คเอาท์ เดินทางกลับ
ระดับหลักสูตร: ผู้สร้างเครือข่าย Trainer
วันที่: วันที่ 8 – 12 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลา: 5 วัน 35 ชั่วโมง
สถานที่: มะขามป้อมอาร์ตสเปซเชียงดาว @เชียงใหม่
ค่าลงทะเบียน: 13,500 บาท
รวมค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางจากจ.เชียงใหม่













