หลักสูตร การออกแบบห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
Active Learning Design
ระยะห่างของความสัมพันธ์ในการเรียนรู้ ส่งผลให้เกิดระยะห่างทางใจในห้องเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของความเป็นมนุษย์คนหนึ่งในห้องเรียน ยิ่งระยะห่างนั้นไกลออกไปมากขึ้นอาจจะก่อกำแพงของการต่อต้านแบบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากเส้นแบ่งเขตอาจจะไม่ได้อยู่ตามชายขอบหรือชายแดน แต่เส้นแบ่งเขตนั้นกลับเกิดขึ้นในห้องเรียนโดยที่ทั้งผู้สร้างการเรียนรู้และผู้เรียนรู้ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น เราจึงเห็นผู้เรียนรู้หลุดไปอยู่ชายขอบ ผู้เรียนรู้ที่อยากอยู่นอกห้องเรียน เมื่อเขาพบว่าพื้นที่แห่งนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อให้เขาได้เข้าร่วม
เราจะลบเส้นแบ่งเขตนี้ออกไปจากห้องเรียนของเราได้อย่างไร ?
พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ที่ทุกคนจะสามารถมีอำนาจออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันได้ ห้องเรียนที่มีพลังมากที่สุด คือห้องเรียนที่สามารถมอบอำนาจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนและผู้สอนที่จะมีอำนาจร่วมกันในการออกแบบการเรียนรู้ การออกแบบการมีส่วนร่วม คือการออกแบบที่ต้องใช้ศิลปะและมีกระบวนการอย่างเหมาะสม หลักสูตรนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโครงสร้างเชิงอำนาจ วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ด้วยหลักการออกแบบการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม คำนึงถึงความเฉพาะบุคคล โดยผ่านวิธีการสนุก สื่อสารและมีส่วนร่วม
สังเขปเนื้อหา
- ห้องเรียนแห่งอำนาจ
- พื้นที่ปลอดภัย บรรยากาศที่สร้างความปลอดภัย
- หลักการออกแบบกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม
- วิธีการออกแบบกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ก.เกม และ ก.กิจกรรม
- ทฤษฎีการออกแบบ Active Learning Curve เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้
- การเรียนรู้แบบใคร่ครวญสะท้อนคิด ถอดรหัสการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
ระดับหลักสูตร: กระบวนกร
วันที่: 5 – 6 สิงหาคม 2566
ระยะเวลา: รวม 12 ชั่วโมง
สถานที่: สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) BTS รัชโยธิน
ค่าลงทะเบียน: 4,900 บาท
(รวมอาหารกลางวัน ไม่รวมที่พัก)
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
กิจกรรมวันที่ 1
09.00 – 12.00
แนะนำผู้เข้าร่วมเรียนรู้ / แนะนำวิทยากร
กิจกรรม ทำความรู้จักกัน ความคาดหวัง ทำไมเราต้องสร้างการมีส่วนร่วม
กิจกรรม วัฒนธรรมอำนาจในห้องเรียน
13.00 – 16.00
กิจกรรม วิธีการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
กิจกรราม แนวคิดและหลักการออกแบบห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
(ก.เกม/ก.กิจกรรม/ทฤษฎีการออกแบบ Active Learning Curve)
กิจกรรม ทดลองออกแบบห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
กิจกรรมวันที่ 2
09.00 -12.00
กิจกรรม ปฏิบัติการห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
นำเสนอ / เสนอแนะ
13.00 – 16.00
ถอดรหัสการเรียนรู้ การออกแบบห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
(Active Learning Design)
สรุปการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของแต่ละคน
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม




